การเพิ่มผลผลิต Productivity
มีแนวคิด 2 ประการ ที่อธิบายความหมายของคำว่า "การเพิ่มผลผลิต"
ได้อย่างชัดเจน คือ
★ แนวคิดในเชิงเทคนิค
(Technical Concept) การเพิ่มผลผลิตคือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
★ แนวคิดด้านปรัชญา
เหนือสิ่งอื่นใด
การเพิ่มผลผลิตคือจิตสำนึก
หรือเจตคติที่จะแสวงหาทางปรับปรุงและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ด้วยความเชื่อมั่นว่า
สามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้
เป็นความเพียรพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดที่จะปรับเปลี่ยนงานหรือกิจกรรมที่ทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ
องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนนั้น องค์การนั้นๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง
7
ดังนี้คือ
★ Quality คุณภาพ หมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
★ Cost ต้นทุน หมายถึง
การลดต้นทุนที่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน
★ Delivery การส่งมอบ หมายถึง
การส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง ถูกเวลาและถูกสถานที่
★ Safety ความปลอดภัย หมายถึง
การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับพนักงาน
ซึ่งส่งผลให้มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
★ Morale ขวัญกำลังใจในการทำงาน หมายถึง
การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ให้เอื้อต่อการทำงานของพนักงานที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
★ Environment สิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
และ ชุมชน
★ Ethics จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ หมายถึง
การดำเนินธุรกิจโดยไม่เอาเปรียบทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ลูกค้า ผู้จัดหาสินค้า พนักงาน
ผู้ถือหุ้น คู่แข่ง ภาครัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เทคนิคและเครื่องมือเพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในองค์การ
เทคนิคพื้นฐาน
★ กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย คือ
กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงาน
★ กิจกรรม 5ส คือ
กิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน
★ วงจร PDCA คือ วงจรเพื่อการบริหารและการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
★ กิจกรรมข้อเสนอแนะ
คือ
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดใหม่ๆ
ซึ่งสามารถปฏิบัติได้และเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานที่ปฏิบัติอยู่แล้วให้ดีขึ้น
★ กิจกรรมกลุ่มย่อย คือ
กิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ
โดยการร่วมกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานจำนวน 3-10 คน
เทคนิคขั้นสูง
★ การบริหารคุณภาพโดยรวม
(Total
Quality Management : TQM) คือ
ระบบการบริหารงานที่เน้นคุณภาพ โดยมุ่งความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
★ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม
(Total
Productive Maintenance : TPM) คือ
ระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่เน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง
เพื่อให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพสูงสุดและคงอายุการใช้งานนานที่สุด
★ การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time : JIT) คือ ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการผลิตเฉพาะชิ้นส่วนที่จำเป็น ในเวลาที่จำเป็น
เมื่อเวลาที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อมุ่งขจัดความสูญเปล่าต่างๆ
ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ได้มีผู้ให้ความหลากหลายแตกต่างกันไป
เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต
เป็นต้น ซึ่งความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ
★ การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input) (แรงงาน เครื่องมือ วัตถุดิบ
เครื่องจักร พลังงาน และอื่น ๆ ) กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต
(Output) (ตู้เย็น รถยนต์ การขนส่ง) สามารถคำนวณได้จาก การเพิ่มผลผลิต (Productivity) = ผลผลิต (Output)ปัจจัยการผลิต (Input)
ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น น้ำหนัก เวลา ความยาว และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน
★ การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ (Consciousness of Mind) เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง
ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน และเงินตรา ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม
ประเภทของการเพิ่มผลผลิต
ความสัมพันธ์กับลูกค้า
และความพึงพอใจของลูกค้า
★ องค์กรมีวีธีการอย่างไรในการจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
องค์กรมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้มั่นใจว่าข้อร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลและทันท่วงที
และองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวม
และวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร
รวมทั้งให้คู่ค้านำไปใช้ในการปรับปรุง
การวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล
★ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดคุณลักษณะ
และทักษะที่จำเป็นของพนักงานที่องค์กรต้องการเพื่อให้ตอบสนองต่อแผนการเพิ่มผลผลิต
★ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร
รวมถึงการให้ข้อมูลป้อนกลับสนับสนุนการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและส่งผลต่อการบรรลุแผนปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตขององค์กรอย่างไร
และการบริหารค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย
ตลอดจนการให้รางวัลและสิ่งจูงใจกับพนักงานที่มีผลการดำเนินการที่ดีเหล่านั้น
·
องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้การสื่อสาร การแบ่งปันทักษะระหว่างผู้ที่อยู่ต่างหน่วยงาน
ต่างภาระงาน และต่างสถานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
การวัดการเพิ่มผลผลิต
★ การวัดการเพิ่มผลผลิตเป็นการคำนวณหาผลลัพธ์จากผลิตผลส่วนด้วยปัจจัยการผลิตแต่ต้อคำนึงด้วยว่าผลิตผลที่นำมาใช้วัดนั้นต้องมีคุณภาพด้วย
★ การเพิ่มผลผลิตของหน่วยงานจะสูงขึ้นได้
เพราะการเพิ่มผลผลิตในระดับบุคคลและในระแผนกสูงขึ้น
★ ประสิทธิผลหมายถึงระดับความสำเร็จของวัตถุประสงค์
เช่น ความสามารถในการสนองความต้องการของลูกค้า
ส่วนประสิทธิภาพหมายถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
โดยไม่ให้เกิดความสูญเปล่า หรือสูญเสีย
★ วัตถุประสงค์ระยะยาวของการวัดการเพิ่มผลผลิตคือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ความหมายการวัดการเพิ่มผลผลิต
สาระสำคัญของการเพิ่มผลผลิตก็คือการสะท้อนภาพของความทุ่มเทพยายามของผู้ที่เกี่ยวของ
เราได้ศึกษามาแล้วว่า
การเพิ่มผลผลิตคืออัตราส่วนระหว่างผลิตผลและปัจจัยการผลิตดังนั้น
ไม่ว่าเราจะมีหน้าที่การงานอะไรก็ตาม เราต้องสามารถแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือผลิตผลและอะไรคือปัจจัยการผลิต
ความสำคัญของการวัดการเพิ่มผลผลิต
ในยุคแห่งการแข่งขันการวัดการเพิ่มผลผลิตได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจในการดำเนินงานชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการจะต้องมองถึงผลได้ผลเสียของการลงทุน
เราคงได้ยินข่าวสารเรื่องนักลงทุนต่างประเทศย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยหรือประเทศในภูมิภาคนี้เพราะได้เปรียบเรื่องค่าแรงกันอยู่เสมอสาเหตุสำคัญที่มีการย้ายฐานการผลิตก็เพราะนักลงทุนเหล่านั้นได้ทำการวัดการเพิ่มผลผลิตโดยคร่าว
ๆ แล้ว พบว่าคุ้มค่ากว่า ยกตัวอย่างเช่น หากการผลิตรถยนต์ 1
คัน ในประเทศไทยทำให้นักลงทุนต้องจ่ายค่าแรงน้อยกว่าการผลิตในประเทศเยอรมัน
นักลงทุนย่อมที่จะเลือกมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
แต่ตราบใดก็ตามที่นักลงทุนพบว่าค่าแรงของประเทศอื่นถูกกว่าประเทศไทย
ก็ย่อมมองหาลู่ทางที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศนั้น เพราะคุ้มค่ามากกว่าโดยการเปรียบเทียบผลได้ผลเสียที่คำนวณได้จากการวัดการเพิ่มผลผลิต
ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน
ประสิทธิผล
ประสิทธิภาพ และการเพิ่มผลผลิต แนวคิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการวัดการเพิ่มผลผลิตก็คือแนวคิดเรื่องประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
การผลิตที่มีประสิทธิผลก็คือการผลิตสิ่งที่ต้องการ
หากเป็นสินค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด
ต้องเป็นสินค้าที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสามารถจำหน่ายได้
สำหรับประสิทธิภาพก็คือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
โดยไม่ให้เกิดความสูญเปล่าหรือสูญเสีย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลของการเพิ่มผลผลิต
ในการเพิ่มผลผลิตจะต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ
อย่างประกอบกัน เช่น อิทธิพลภายนอกองค์การ ขบวนการผลิต ความสามารถในการผลิต
สินค้าคงคลัง และกำลังแรงงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยย่อย ๆ อื่น ๆ ประกอบอีก
การเพิ่มผลผลิตจะใช้เพียงปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดจะได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ค่อย สมบูรณ์นัก
เพราะทุกปัจจัยจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
แต่เราสามารถให้น้ำหนักของความสำคัญในแต่ละปัจจัยไม่เท่ากันได้แล้วแต่ สถานการณ์แวดล้อม
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานการเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ
★ ความเข้าใจในเป้าหมายที่ชัดเจน
รวมถึงวิสัยทัศน์การทำงาน ที่แทรกซึมเข้าไปเป็นวัฒนธรรมองค์กร และพนักงานใช้ในการทำงานร่วมกัน
★ ผลผลิตของบริษัท
ที่เป็นมากกว่า ผลของการทำงาน แต่เป็นผลผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสังคม
★ ความซื่อสัตย์และความโปร่งใสขององค์กร
ที่ใช้ในการติดต่อการสื่อสารไปยังลูกค้า
เพื่อสร้างความไว้ใจ และความเชื่อถือให้เกิดตามมา
เพื่อสร้างความไว้ใจ และความเชื่อถือให้เกิดตามมา
★ การวางแผนสร้างความสัมพันธ์ระะหว่างองค์กรกับลูกค้า
ให้เกิดขึ้นในระยะยา
★ พนักงานเข้าใจถึงวิธีการทำงานเป็นทีม
และทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
★ การมองไปในระยะยาว
ถึงการรักษาไว้ซึ่งมาตราฐานที่ดีขององค์กร
★ การที่พนักงานเข้าใจว่า
วิธีที่จะสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นๆ นั้น
จะต้องรีดขีดพลังความสามารถของตัวเองออกมามากที่สุด และต้องปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กร
จะต้องรีดขีดพลังความสามารถของตัวเองออกมามากที่สุด และต้องปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กร
★ หัวหน้าและพนักงานมองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน
และกำลังปฏิบัติการเพื่อมุ่งไปยังอนาคตนั้น
★ องค์กรปรับปรุงกลยุทธ์ไปเรื่อยๆ
อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งความสนใจ ไปที่การพัฒนาความสามารถ
และเพิ่มประสบการณ์ให้กับพนักงาน
★ องค์กรวางโครงสร้างในการทำงานเป็นทีม
ให้เล็ก กระชับ และใช้งานได้ง่ายแต่วางเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จให้มีความยิ่งใหญ่
ขอขอบคุณ http://achinan.blogspot.com
สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 60