การจัดการงานอาชีพ
1. ขั้นตอนของการพัฒนาด้านอาชีพ
ช่วงแรก เป็นระยะเริ่มต้นก้าวสู่งานอาชีพ (ESTABLISHMENT
STAGE) ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ
21-26 ปี
ช่วงวัยนี้แต่ละคนยังไม่ค่อยมั่นใจในขีดความสามารถ (COMPETENCY)
และศักยภาพ (POTENTIAL)
ของตนเองมากนัก
ดังนั้นการทำงานของคนในวัยนี้ ยังต้องพึ่งพิงพนักงานรุ่นพี่หรือผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า ให้ช่วยแนะนำสอนงาน
รวมทั้งช่วยประเมินเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงานของพวกเขาว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงใด
กล่าวโดยสรุป ช่วงอายุ 21-26 ปี
เป็นวัยซึ่งคนเริ่มต้นตัดสินใจเลือกว่า จะก้าวเข้าสู่งานอาชีพอะไร
จะทำงานในหน่วยงานใดในตำแหน่งงานอะไร คนในช่วงวัยนี้
อยู่ในวัยของการสำรวจแสวงหาลู่ทางสำหรับงานในอนาคตของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ
เรียนรู้ทำความเข้าใจในศักยภาพของตนเองว่า มีความถนัดในด้านใดมากน้อยเพียงใด
ช่วงที่ 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงอายุประมาณ 26-40
ปี (ADVANCEMENT
STAGE) เป็นช่วงการไขว่คว้าหาความก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเอง
ช่วงวัยนี้แต่ละคนเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
เริ่มทำงานได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพิงพนักงานรุ่นพี่หรือผู้บังคับบัญชามากขึ้น
คนทำงานในวัยนี้ มุ่งมั่นทำงานเพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเอง
พยายามเรียนรู้ให้สามารถทำงานได้ด้วยความสามารถของตนเอง
พยายามสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
รวมทั้งมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จของงานอาชีพในระยะยาวเป็นเป้าหมายหลักที่จะไปให้ถึง
ช่วงที่ 3 ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี (MAINTENANCE
STAGE) เป็นช่วงอายุของการบำรุงรักษาและทบทวนงานอาชีพของตนเอง
ทั้งนี้เพราะในช่วงวัยนี้
คนจำนวนหนึ่งอาจประสบความสำเร็จมีความก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเองในระดับมากพอสมควร
ในขณะที่มีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเท่าที่ควรหรืออาจกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ในชีวิตการทำงานของตนเองด้วยซ้ำ
สำหรับพวกที่ประสบความสำเร็จ คนกลุ่มนี้จะพยายามทำตัวให้มีประโยชน์ต่อองค์การ
โดยให้ความช่วยเหลือพนักงานรุ่นน้อง ๆ ในการแก้ไขและพัฒนาการทำงานต่าง ๆ
ช่วงที่ 4 ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป คนในวัยนี้เป็นวัยเกษียณอายุ
(WITHDRAWAL STAGE) เป็นช่วงวัยที่คนยุติชีวิตการทำงานของตนเอง
เพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานคนในวัยนี้ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์
ความรู้ที่ตนเองสั่งสมมาตลอดชีวิตการทำงานให้กับคนรุ่นหลัง
สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จมาตลอดระยะเวลายาวนานในงานอาชีพของตนเองมักมีความรู้สึกภาคภูมิใจและต้องการจากงานอาชีพของตน
โดยทิ้งความสำเร็จของตนเองเป็นอนุสรณ์ให้ผู้คนระลึกถึงต่อไปการทำความเข้าใจ
ช่วงเวลาที่คนทำงานต้องก้าวหน้าไปในแต่ละระยะของงานอาชีพ
จะช่วยให้พนักงานสามารถพัฒนาตนเองให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุการทำงานของเขา
ในส่วนขององค์การนั้น
2. การจัดทำสายอาชีพ
ขั้นตอนที่ 1 : การศึกษาโครงสร้างองค์การ/ตำแหน่ง
เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดผังโครงสร้างองค์การ
โครงสร้างตำแหน่งงาน และระดับตำแหน่งงานขององค์การในปัจจุบัน
และนำไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์งาน
การจัดกลุ่มงานให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์การ
โดยต้องสำรวจและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
★ ผังโครงสร้างองค์การ/หน่วยงาน (ORGANIZATION
CHART) ว่าองค์การกำหนดผังโครงสร้างในภาพรวมเป็นอย่างไร
โดยจัดแบ่งหน่วยงานเป็นระดับฝ่าย ส่วน และแผนกอย่างไรบ้าง
★ ผังโครงสร้างตำแหน่งงาน (POSITION
CHART) ในแต่ละหน่วยงานประกอบด้วยตำแหน่งงานใดบ้าง
ซึ่งรวมทั้งตำแหน่งงานว่างและตำแหน่งงานที่มีผู้ดำรงตำแหน่งรวมทั้งสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานเป็นอย่างไร
★ ระดับตำแหน่งงาน (POSITION
LEVEL) พิจารณาระดับตำแหน่งงานทั้งหมดขององค์การว่าจัดแบ่งเป็นระดับใด
โดยให้ระบุระดับของตำแหน่งงานตั้งแต่ระดับสูงสุดจนกระทั่งระดับล่างสุด
ขั้นตอนที่ 2
: การวิเคราะห์งาน (JOB ANALYSIS)
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกลุ่มงาน
(JOB FAMILY) และจัดทำรูปแบบของสายอาชีพ (CAREER MODEL) ให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์การ
การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและกิจกรรมหลักของแต่ละงาน
รวมทั้งคุณสมบัติที่จำเป็นของงานในตำแหน่งงานต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยวุฒิการศึกษา
ประสบการณ์ที่จำเป็นและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
วิธีการเก็บข้อมูลสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
★ การสัมภาษณ์พนักงาน
โดยการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สัมภาษณ์หัวหน้างานและพนักงานเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบรวมทั้งคุณสมบัติขั้นต่ำที่จำเป็นและความสามารถของแต่ละตำแหน่งงาน
★ การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย
(FOCUS GROUP) โดยการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดสัมมนากลุ่มย่อยสำหรับหัวหน้างานและพนักงาน
เพื่อฝึกอบรม
ฝึกสอนและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการในการจัดทำคำบรรยายลักษณะงานอย่างถูกต้องเหมาะสมสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำสายอาชีพต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
: การจัดกลุ่มงาน (JOB FAMILY)
เป็นการจัดแบ่งกลุ่มงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของตำแหน่งงานใกล้เคียงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
โดยวิเคราะห์จากคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งงานที่จัดขึ้น
โดยมีวิธีการจัดทำดังนี้
★ ศึกษาขอบเขตหน้าที่งาน (SCOPE
OF WORK) และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน(JOB
SPECIFICATION) ซึ่งประกอบไปด้วยการศึกษา
ประสบการณ์ ความสามารถที่จำเป็นของตำแหน่งงาน
โดยศึกษาจากคำบรรยายลักษณะงานที่จัดทำขึ้น
★ จัดแบ่งกลุ่มงาน (JOB
FAMILY) โดยพิจารณาจัดกลุ่มงานจากงานที่มีความสามารถ(COMPETENCY)
ที่คล้ายคลึงกันควรจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
★ จัดแบ่งกลุ่มงานย่อย (SUB
GROUP) ของแต่ละกลุ่มงานที่กำหนดขึ้น
โดยพิจารณาจากขอบเขตหน้าที่
คุณสมบัติและความสามารถที่คล้ายคลึงกันจะอยู่ในกลุ่มงานย่อย
ขั้นตอนที่ 4 : การจัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์กร CAREER MODEL และเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแนวทางในการจัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์การ
(CAREER MODEL) มีดังต่อไปนี้
★ ระบุตำแหน่งงานทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยงานทั้งในระดับฝ่าย
ส่วน แผนกของแต่ละกลุ่มงานย่อยของแต่ละกลุ่มงาน (JOB FAMILY) ที่กำหนดขึ้น
★
จัดกลุ่มแนวทางเลือกในสายอาชีพโดยการโอนย้ายกลุ่มงานให้เหมาะสม
ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในงาน (JOB COMPETENCY)
★
โอนย้ายงานข้ามกลุ่มย่อยของกลุ่มงานเดียวกัน
เช่นจากหน่วยงานคลังสินค้าไปยังหน่วยงานจัดส่ง -
โอนย้ายงานข้ามกลุ่มงานที่ต่างกัน เช่น จากฝ่ายผลิต ไป ฝ่ายวิศวกรรม
★
หลังจากที่มีการกำหนดตำแหน่งงานในแต่ละกลุ่มงาน
รวมทั้งการจัดกลุ่มแนวทางเลือกในสายอาชีพโดยการโอนย้ายกลุ่มงานให้เหมาะสมแล้ว
ขั้นตอนต่อไปให้จัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของตำแหน่งงานและเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและแจ้งให้พนักงานทราบต่อไป
3. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในงานอาชีพ
3. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในงานอาชีพ
👻 ความต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achivement) ในการทำงานเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้ ผู้ประกอบการจะต้องมุ่งมั่นใช้กำลังกาย
กำลังความคิด สติปัญญาและความสามารถทั้งหมด
พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับงาน
โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก
เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้
👻 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) การจะเป็นผู้สำเร็จในงานอาชีพได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ไม้พอใจในการทำสิ่งซ้ำๆเหมือนเดิมตลอดเวลา
แต่เป็นผู้ที่ชอบนำประสบการณ์ที่ผ่านมาประยุกต์ สร้างสรรค์
หาวิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิม
สามารถหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา
กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากเดิม กล้าใช้วิธีขายที่ไม่เหมือนใคร กล้าประดิษฐ์
กล้าคิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่เข้าสู่ตลาด
สามารถคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ รวมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ๆมาทดแทนของเดิม รู้จักปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน นำระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดต้นทุน ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้
👻 รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย
(Addicted to Goals) เมื่อตั้งเป้าหมาย
ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เป้าหมายทุกเป้าหมายล้วนจะต้องเอาชนะทั้งสิ้น มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค
ขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย
เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะอุปสรรค
ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความล้มเหลว
และหาหนทางแก้ไขเมื่อประสบความเหลว
และในขณะเดียวกันการมองโลกในแง่ดีมีความหวัง
มุ่งมั่นต่อไปเป้าหมายของความสำเร็จจะมองเห็นในอนาคต
👻 มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี
(Management and Leadership Capability) มีลักษณะการเป็นผู้นำ รู้จักหลักการบริหารจัดการที่ดี ภาวะการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจ ในระยะเริ่มทำธุรกิจ
จะต้องรับบทบาทการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเติบโตของธุรกิจ ในระยะเริ่มทำธุรกิจ
จะต้องรับบทบาทเป็นผู้นำที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง ต้องทำงานหนักเพื่อบรรลุความสำเร็จ เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน วางแผนทางการทำงาน
ให้คำแนะนำและให้ผู้ร่วมงานรับค่าสิ่งด้วยความเต็มใจในการปฏิบัติงาน เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ต่อมาเมื่อกิจการเติบโตขึ้น การบริหารงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป ลูกน้องก็จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น ไว้ใจได้
สามารถที่จะแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องได้มากขึ้น จนสามารถปล่อยให้ดำเนินการเองได้
ส่วนตนจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่
ดำเนินกิจการให้ลักษณะมืออาชีพมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมืออาชีพ รู้จักปรับเปลี่ยนการบริหาร เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
👻 มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Be Self Confident) ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีความเป็นอิสระและรู้จักพึ่งตนเอง มีความมั่นใจ
มีความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว
มีลักษณะเป็นผู้นำ
มีความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว มีความทะเยอทะยาน
และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไปหรือเชื่อมั่นตนเองมากเกินไป
👻 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Visionary) เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
และรู้จักเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
👻 มีความรับผิดชอบ (Responsibility) มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี
เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่างๆ มักจะมีความริเริ่มแล้วลงมือทำด้วยตนเอง
หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำและจะดูแลจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย
โดยจะรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือไม่
มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่
ความพยายาม ความรับผิดชอบ มิใช่เกิดจากโชคช่วย
👻 มีความกระตือรือร้นและไม่หยุดนิ่ง (Enthusiastic) มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวา
มีความกระตือรือร้น
ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง
ทำงานหนักมากกว่าคนทั่วไป
ขอขอบคุณ www.sites.google.com
สืบค้นวันที่ 27 ธันวาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น