1. ความหมายของการจัดองค์การ
มีผู้ให้คำนิยาม
คำว่า " การจัดองค์การ " ไว้หลายท่าน ดังนี้
🌟 Edwin B.Flippo ( 1970 : 129 ) กล่าวไว้ว่า
การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ คือ ตัวบุคคลและหน้าที่การงาน
เพื่อรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้
🌟 ธงชัย
สันติวงษ์ ( 2537 : 63 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ คือ
การจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูป
และการมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้
การจัดองค์การจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความรับผิดชอบต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนต่างฝ่ายต่างทราบว่า ใครต้องทำอะไร
และใครหรือกิจกรรมใดต้องสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง
🌟 สมคิด
บางโม ( 2538 : 94 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง
การจัดแบ่งองค์การออกเป็นหน่วยงานย่อยๆให้ครอบคลุมภารกิจและหน้าที่ขององค์การ
พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์กับองค์กรย่อยอื่นๆไว้ด้วย ทั้งนี้
เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
✪ สรุปได้ว่า
การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ
และบุคคลในองค์การ โดยกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง
เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ประเภทขององค์การ
(Types of Organization)
⭐ องค์การแบบเป็นทางการ
(formal organization) เป็นองค์การที่มีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน
การจัดตั้งมีกฎหมายรองรับ บางแห่งเรียกว่า องค์การรูปนัย ได้แก่ บริษัท มูลนิธิ
หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ
ซึ่งการศึกษาเรื่ององค์การและการจัดการจะเป็นการศึกษาในเรื่องขององค์การประเภทนี้ทั้งสิ้น
⭐ องค์การแบบไม่เป็นทางการ
(informal organization) เป็นองค์การที่รวมกันหรือจัดตั้งขึ้นด้วยความพึงพอใจและมีความสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัว
ไม่มีการจัดระเบียบโครงสร้างภายใน มีการรวมตัวกันอย่างง่ายๆ และเลิกล้มได้ง่าย
องค์การแบบนี้เรียกว่า องค์การอรูปนัย หรือ องค์การนอกแบบ เช่น
ชมรมต่างๆหรือกลุ่มต่างๆ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันตามความสมัครใจของสมาชิกกลุ่ม
ซึ่งเนื่องมาจากรายได้ อาชีพ รสนิยม ศาสนา ประเพณี ตำแหน่งงาน ฯลฯ
3. หลักการจัดองค์การ
หลักการจัดองค์การ
OSCAR ของ Henri Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization, Coordination, Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ
เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR
สำหรับรายละเอียด
ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน
" หลักในการจัดองค์การที่ดี "
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
❀ หลักวัตถุประสงค์ (Objective)
กล่าวว่า
องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย
ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม
❀ หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง
(Specialization) กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน
ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว
❀ หลักการประสานงาน (Coordination)
กล่าวว่า
การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน
โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ
❀ หลักของอำนาจหน้าที่
(Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้
จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar
Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ)
บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา)
การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
❀ หลักความรับผิดชอบ
(Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ
คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ
เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี
❀ หลักความสมดุล (Balance)
จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย
❀ หลักความต่อเนื่อง
(Continuity) ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง
ไม่ใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ หรือ ปิด ๆ เปิด ๆ
ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่
❀ หลักการโต้ตอบและการติดต่อ
(Correspondence) ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน
องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ
❀ หลักขอบเขตของการควบคุม
(Span of control) เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ
ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป
โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน 6 หน่วยงาน
❀ หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
(Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี
ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น
เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One
man one boss"
❀ หลักตามลำดับขั้น
(Ordering) ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา
หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ
แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่
อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย
เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ
❀ หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
(Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า
ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น
ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา
และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย
4. กระบวนการจัดองค์การ
(Process of Organizing)
ประกอบด้วย
กระบวนการ 3 ขั้น
🔯 พิจารณาแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงาน
และออกแบบงานสำหรับผู้ทำงานแต่ละคน (Identification of Work &
Grouping Work) ก่อนอื่นผู้บริหารจะต้องพิจารณาตรวจสอบแยกประเภทดูว่า
กิจการของตนนั้นมีงานอะไรบ้างที่จะต้องจัดทำเพื่อให้กิจการได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ขั้นต่อมาก็คือ การจัดกลุ่มงานหรือจำแนกประเภทงานออกเป็นประเภท
โดยมีหลักที่ว่างานที่เหมือนกันควรจะรวมอยู่ด้วยกัน
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของการแบ่งงานกันทำ
โดยการจัดจำแนกงานตามหน้าที่แต่ละชนิดออกเป็นกลุ่มๆ ตามความถนัด
และตามความสามารถของผู้ที่จะปฏิบัติ
🔯 ทำคำบรรยายลักษณะงาน (Job
Description & Delegation of Authority & Responsibility) ระบุขอบเขตของงานและมอบหมายงาน
พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบ และให้อำนาจหน้าที่
🔯 จัดวางความสัมพันธ์ (Establishment
of Relationship) การจัดวางความสัมพันธ์จะทำให้ทราบว่า
ใครต้องรายงานต่อใคร เพื่อให้งานส่วนต่างๆ ดำเนินไปโดยปราศจากข้อขัดแย้ง มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานมุ่งไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน
5. การจัดโครงสร้างขององค์การ (Organization structure)
เชาว์ ไพรพิรุณโรจน์ (อ้างใน ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536 ) ได้เสนอแนวความคิดว่า การจัดโครงสร้างขององค์การมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง ฉะนั้น การที่ผู้บริหารจะวางแนวในการจัดโครงสร้างนั้น อาจจะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน อย่างไรก็ตามการจัดโครงสร้างขององค์การสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภทดังนี้
✥โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน (Functional OrganizationStructure)
✥โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure)
✥ โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา (Staff Organization Structure)
✥ โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร (Committees Organization Structure)
✥ โครงสร้างองค์การงานอนุกร (Auxiliary)
5. การจัดโครงสร้างขององค์การ (Organization structure)
เชาว์ ไพรพิรุณโรจน์ (อ้างใน ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536 ) ได้เสนอแนวความคิดว่า การจัดโครงสร้างขององค์การมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง ฉะนั้น การที่ผู้บริหารจะวางแนวในการจัดโครงสร้างนั้น อาจจะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน อย่างไรก็ตามการจัดโครงสร้างขององค์การสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภทดังนี้
✥โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน (Functional OrganizationStructure)
✥โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure)
✥ โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา (Staff Organization Structure)
✥ โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร (Committees Organization Structure)
✥ โครงสร้างองค์การงานอนุกร (Auxiliary)
6. การจัดแผนกงาน
(Departmentation)
การจัดแผนกงาน
หมายถึง การรวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยการรวมกิจกรรมที่คล้ายกัน
และเหมาะสมที่จะนำมาปฏิบัติ ในกลุ่มเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเป็นกลุ่ม แผนก
หรือหน่วยงาน หลักเกณฑ์พื้นฐานที่จะใช้สำหรับการจัดแผนกงาน
ขอขอบคุณ
www.mte.kmutt.ac.th
1 /พ.ย./60
1 /พ.ย./60
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น