การจัดองค์การ
( Organizing)
การจัดองค์การ ( Organizing) นักทฤษฎีองค์การทั้งหลายพยายามที่จะออกแบบองค์การ
เพื่อรวบรวมเอาพนักงานทั้งหลายขององค์การที่จะต้องทำงานร่วมกันและมีความจำเป็นที่จะต้องประสานงานเพื่อให้งานได้รับมอบหมายบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การซึ่งการจัดองค์การถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการบริหารการจัดการโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบางอย่างไม่สามารถทำเพียงคนเดียได้หลายๆคนจำต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า“ องค์การ”ดังที่CHESTER I BARNARD กล่าวว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมมือร่วมใจของมนุษย์
ดังนั้น การจัดองค์การก็เพื่อให้โครงสร้างของกลุ่มคน
และกลุ่มตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่จะไปรองรับกับแผนงานที่กำหนดไว้และเป็นโครงสร้างที่จัดขึ้นเพื่อประสานให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ดีช่วยลดความซ้ำซ้อนผู้บริหารจึงจำเป็นต้องจัดองค์การให้มีลักษณะที่สมดุลเพื่อประโยชน์ขององค์การ
ความหมายของการจัดองค์การ
การจัดองค์การ
(Organizing) คือ กระบวนการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและกิจกรรมต่างๆขององค์การเพื่อที่จะก่อให้เกิด
การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดองค์การ (Organizing)
คือ การจัดระเบียบกิจกรรมต่าง ๆ
ในองค์การและมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดองค์การที่ดีจะช่วยให้กาบริหารการจัดการมีประสิทธิภาพได้เนื่องจาก
1. ทำให้ทราบขอบเขต
ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ
2. ช่วยป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน
3. ช่วยประสานงานในหน้าที่ต่าง
ๆ ได้ดี
4. ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงานในองค์การได้
5. สามารถแสดงให้เห็นตัวภาระหน้าที่ความรับผิดชอบได้ชัดเจน
6. ทำให้มีระบบการสื่อสารตามสายการบังคับบัญชาที่ดี
หลักของการจัดองค์การ
หลักสำคัญของการจัดองค์การ ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน, อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
, ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา , สายบังคับบัญชา , ช่วงการบังคับบัญชา , การประสานงาน , หลักของการทำงานเฉพาะอย่าง และเอกภาพในการบังคับบัญชาองค์ประกอบของการจัดองค์การจะประกอบไปด้วย
องค์การที่เป็นทางการ
และองค์การที่ไม่เป็นทางการ
- องค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) คือ กลุ่มหรือองค์การที่ถูกกำหนดขึ้นโดยโครงสร้างขององค์การซึ่งมีกฎเกณฑ์
รวมทั้งระบบสายการบังคับบัญชาที่กำหนดขึ้น
- องค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal
Organization) คือกลุ่มหรือองค์การที่เกิดจากการ รวมตัวของปัจเจกบุคคล โดยอาศัยพื้นฐานทางด้านผลประโยชน์และสายสัมพันธ์ความเป็นเพื่อน ลักษณะของความสัมพันธ์ภายในจึงไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่แน่นอน
องค์ประกอบของการจัดการ
การแบ่งงาน (Division of work)
องค์ประกอบของการจัดการ
การแบ่งงาน (Division of work)
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่ให้มีการสนับสนุนให้คนทำงานเฉพาะอย่างตามความถนัดของแต่ละคน คือ Frederick
W. Taylor บิดาของการบริหารการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
กล่าวว่า การแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ
แล้วให้คนงานแต่ละคนรับผิดชอบงานที่ตนเองถนัด
จะทำให้เกิดความชำนาญในหน้าที่งาน ซึ่งเรียกว่าความชำนาญเฉพาะอย่าง(Specialization)และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพผลิต (Productivity)ดังนั้นการแบ่งงานในองค์การจึงเป็นการแบ่งงานทุกชนิดขององค์การให้อยู่ในรูปของกลุ่มงานต่างๆเพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง และเกิดประสิทธิภาพแต่อย่างไรก็ตามการแบ่งงานยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยของงานที่เกี่ยวข้องคือ
1. ขอบข่ายของงาน (
Job Scope ) หมายถึงจำนวนงานที่ได้รับมอบหมายและต้องรับผิดชอบ มากน้อยแค่ไหน
2.ความลึกของงาน (
Job Depth ) เป็นการจัดระดับของการควบคุมที่ผู้ปฏิบัติมีอยู่หรืองานที่ตนรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นความอิสระความรวดเร็วตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ลักษณะงาน (Task Characteristics) การจัดคนให้เข้าลักษณะงานที่ทำย่อมทำให้เกิด ประสิทธิภาพ
และเกิดความพึงพอใจในการทำงานสูง การลาออก การขาดงานจะต่ำ
การจัดแผนกงาน ( Departmentalization)
การจัดแผนกงานหมายถึง การจัดรวบรวมงานชนิดต่าง ๆ หรือขั้นตอนของงานต่าง ๆ หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในหน่วยงานใหญ่เดียวกัน
เพื่อให้งานมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น
การกระจายอำนาจหน้าที่ ( Distribution of
Authority )
อำนาจหน้าที่หมายถึง อำนาจอย่างถูกต้องที่ได้รับจากหน้าที่งานหรือองค์การ
ซึ่งอำนาจหน้าที่นี้จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งงานที่ได้รับอำนาจหน้าที่ส่วนมากมักจะเกี่ยวข้องกับการบังคับบัญชาการตัดสินใจการจัดการต่าง
ๆ ขององค์การ
ประเภทของอำนาจหน้าที่ ( Types of Authority )
อำนาจหน้าที่ในองค์การแต่ละแห่งจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่หลากหลาย
เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องหลากหลายด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ที่พบเห็นมีอยู่
3 ประเภท ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ที่เป็น
Line ( Line Authority ) เป็นอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ
การมอบอำนาจงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมไปถึงการควบคุมดูแล
เพื่อให้งานที่ปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
2. อำนาจหน้าที่ที่เป็น Staff
( Staff Authority ) เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลืองานที่เป็นLine เป็นหน่วยงานที่อยู่นอกสายการบังคับบัญชาขององค์การ แต่จะมีความสำคัญพอ ๆ กับงานที่ Line ปฏิบัติ
คนทำงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เป็น
Staf
3.
อำนาจหน้าที่ที่เป็น Functional ( Function Authority
) เป็นอำนาจพิเศษที่ให้กับ
หน่วยงานที่เป็น
Line หรือ Staff เพื่อที่จะให้งานหรือโครงการพิเศษบางประเภทสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมอบหมายงาน (Delegation
Process)
เกิดจากแนวคิดจากเหตุผลที่คนหนึ่งคนใดไม่สามารถที่จะทำงานทั้งหมดให้สำเร็จได้ จะต้องอาศัยคนหลาย ๆ คนช่วยกันทำ ปกติแล้วผู้บริหารจะมอบหมายงาน
และอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนรับไปดำเนินการ
1. การกำหนดความรับผิดชอบให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของตน ( Responsibility )
ความรับผิดชอบก็คือ
หน้าที่ งานหรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ผู้บริหารหรือสมาชิกอื่น ๆ ในองค์การจะต้องทำให้แล้วเสร็จ
2. การมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
(Authority) จะได้สามารถทำงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยมีสิทธิที่จะสั่งการ บังคับบัญชา
ตัดสินใจ
เพื่อที่จะทำให้งานที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตนสามารถบรรลุความสำเร็จ อนึ่ง
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นหัวใจที่สำคัญของการมอบหมายงาน
ที่จะต้องมีความสมดุลมิฉะนั้นแล้วงานจะดำเนินไปอย่างล่าช้า
3. ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความสำนึกถึงภาระหน้าที่ (Accountability) ที่ตนจะต้องปฏิบัติ
และผู้ใต้บังคับบัญชาจะได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ
การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ (Centralization
and Decentralization)
การรวมอำนาจเป็นการที่ผู้บริหารระดับสูง
เก็บรักษาอำนาจหน้าที่ไว้กับตนเอง โดยไม่ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับล่างมีสิทธิในการตัดสินใจหรือดำเนินการใดๆบางเรื่องภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างละเอียดรัดกุมและชัดเจนพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆด้วยคือ
1. ขอบเขตภูมิประเทศที่ครอบคลุม องค์การที่มีสาขาอยู่ภูมิภาคต่าง ๆ มาก จำเป็นต้องมีการมอบหมายอำนาจ เพราะสำนักงานใหญ่แห่งเดียวไม่สามารถที่จะดูแลงานที่มีกว้างขวางได้อย่างทั่วถึง เช่น สถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์เป็นต้น
2. ขนาดขององค์การ ถ้าองค์การที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องกระจายอำนาจ เพราะงานที่ปฏิบัติอยู่จะล่าช้าและไม่สามารถสู้กับคู่แข่งขันได้
3. ความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์การควรจะต้องใช้ระบบการกระจายอำนาจหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติของ
องค์การมีความยืดหยุ่น จึงจะสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะ แวดล้อมได้
4. ความซับซ้อนของเทคโนโลยี องค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง มีความสลับซับซ้อนมาก จำเป็นต้องมีการมอบหมายอำนาจแก่ผู้บริหาร เพื่อรับผิดชอบและเพื่อการควบคุมในแต่ละระดับ
การประสานงาน (Co-ordination)
หมายถึง การเชื่อมโยงกิจกรรมหรือการประสานงานต่าง
ๆ ของคนในหน่วยงานหรือองค์การให้นำมารวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
การจัดโครงสร้างขององค์การ
หมายถึง การกำหนดหน่วยงานในแต่ละระดับให้เชื่อมโยงงานเข้าด้วยกัน
โดยอาจจะเชื่อมโยงงานในลักษณะแนวดิ่ง หรือแนวนอนก็ตามให้มีการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละระดับเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
การออกแบบโครงสร้างองค์การตามหน้าที่ (Functional
Organization)
เป็นวิธีการจัดองค์การ
โดยแบ่งตามหน้าที่หรือลักษณะงานที่ต้องทำโดยอาศัยความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ
ประโยชน์ของการจัดองค์การ
1. การตอบสนองความต้องการทางสังคม
2. การตอบสนองความต้องการทางวัตถุ
2.1.
เพื่อเพิ่มกำลังความสามารถ
2.2.
เพื่อช่วยให้มีการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว และแข่งกับเวลา
สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น